รองศาสตราจารย์ ดร. เสาวณิต วิงวอน
E-mail: sauvanit.v@hotmail.com
ตำแหน่งและหน้าที่ (Position)
ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอาจารย์บัณฑิตศึกษา สาขาวรรณคดีไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อาจารย์พิเศษคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์พิเศษสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
ประวัติการศึกษา (Education)
อักษรศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความเชี่ยวชาญ (Specialization)
วรรณคดีไทย
คติชนวิทยา
วรรณคดีกับทัศนศิลป์และนาฏศิลป์
ผลงานตีพิมพ์ (Publications)
เสาวณิต วิงวอน. 2553. ปฐมสมโพธิวัดตองปุ: ความสัมพันธ์ระหว่างจิตรกรรมกับวรรณกรรมพุทธประวัติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พิมพ์เผยแพร่เรื่องเต็มในการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 49 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่มที่ 11 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วันที่ 1-4 กุมภาพันธ์ 2554. 90-97. งานวิจัยทุนสนับสนุนการวิจัยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีงบประมาณ 2552 ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2552 – มกราคม 2553.
เสาวณิต วิงวอน. 2556. “มุมสนุกในจิตรกรรมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม.” ใน นัทธนัย ประสานนาม. พิพิธพรรณวรรณา: ความทรงจำและสยาม-ไทยในบริบทสากล. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์. เนื่องในการประชุมวิชาการระดับชาติเรื่อง “พิพิธพรรณวรรณนา: ความทรงจำและสยามศึกษาในบริบทสากล” จัดโดยภาควิชาวรรณคดีและคณะกรรมการฝ่ายวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์.
เสาวณิต วิงวอน. 2553. “อ่านยวนพ่ายอีกครั้ง.” ใน วีรวัลย์ งามสันติกุล. คนคุ้นเคย.นนทบุรี: ต้นฉบับ. (พิมพ์ในวาระพลตรี หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒน์ เกษมศรีได้รับประกาศเกียรติคุณยกย่องเป็นนักประวัติศาสตร์อาวุโสดีเด่นจากสมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี.)
เสาวณิต วิงวอน. 2555. วรรณคดีการแสดง. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เสาวณิต วิงวอน. 2557. “ผู้สืบทอดศิลปะการแสดง: มุมมองจากวรรณคดี การแสดงและ
คติชนวิทยา.” ใน สรณัฐ ไตลังคะและรัตนพล ชื่นค้า. เรื่องเล่า ล.ลิง. จัดพิมพ์เนื่องในการสัมมนาวิชาการเรื่อง “ละครลิง”: มหรสพพื้นบ้านกับการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จัดโดยภาควิชาวรรณคดี และคณะกรรมการฝ่ายวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
รางวัลและเกียรติประวัติที่ได้รับการยกย่อง (Awards and Honorable Awards)
รางวัลดีเด่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในการเสนอรายงานการวิจัยเรื่อง “คุณค่าของทำเนียบนักเขียนและรายชื่อวรรณคดีสยามของพระสารสาสน์พลขันธ์ต่อการศึกษาวรรณคดีไทย” ในการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 46 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2551
รางวัลผู้ทำชื่อเสียงให้แก่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี 2555